หน้าแรกเที่ยวเชียงใหม่ | แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่
ที่พักแนะนำในเชียงใหม่



โปรโมชั่นโรงแรมที่พักในเชียงใหม่


ชอบเรื่องนี้ช่วยกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับ

Royal Park Rajapruek

อุทยานหลวงราชพฤกษ์ หรือที่เราเรียกันติดปากว่าสวนราชพฤกษ์
เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และ มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554


แต่เดิมสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้มีชื่อว่า "สวนหลวงราชพฤกษ์"
ได้รับการตั้งโดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
ซึ่งเป็นองค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง

แต่ในภายหลัง ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ
ได้นำความบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวใหม่ว่า
"อุทยานหลวงราชพฤกษ์" ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553
และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า "Royal Park Rajapruek"


บริเวณทางเข้าด้านหน้าต้องซื้อตั๋วสำหรับเข้าไปชมด้านใน
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เปิดให้บริการทุกวัน 8.00 - 18.00 น.

ค่าเข้า หรือ ค่าบำรุงอุทยานหลวงราชพฤกษ์
ผู้ใหญ่ 100 บาท (คนไทยลด 50%)
เด็ก 50 บาท (คนไทย ลด 50%)
บัตรพิเศษ 25 สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป (เฉพาะคนไทย) ข้าราชการ, นักเรียนและนักศึกษา
บัตรรายปี 400 บาท (ชมสวนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งภายในหนึ่งปี)



แผนที่บอกตำแหน่งสถานที่เที่ยวต่างๆ

ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์จะแบ่งเป็น 3 โซนหลักๆ คือ
1. สวนไทย
2. สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติ
3. สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ


สวนไทย
สวนไทยเป็นพื้นที่จัดแสดงพืชสวนเขตร้อนชื้น ที่มีหลากหลายของพันธุ์พืช เทคโนโลยีการผลิต และการแปรรูป ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 1,900 ชนิด รวมแล้วมากกว่า 3.2 ล้านตัน ประกอบด้วยไม้ในกลุ่มต่าง ๆ คือ ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอกไม้ประดับ โดยเฉพาะกล้วยไม้ สมุนไพร พืชผักและเห็ด พันธุ์ไม้หายาก และสวนอื่น ๆ เช่น สวนไม้หอม สวนไม้ในวรรณคดี สวนไม้ประจำจังหวัด อาคารเรือนร่มไม้ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังจัดแสดงพันธุ์พืชต่าง ๆ ภายในกลุ่มอาคารเรือนกระจก ได้แก่ อาคารพืชทะเลทราย อาคารไบโอเทคโนโลยี อาคารพืชเขตร้อน อาคารพืชเขตหนาว และอาคารพืชไร้ดิน รวมทั้งยังมีหมู่บ้านสี่ภาค ที่จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นไทย และการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมตามภูมิภาคนั้น ๆ สวนไทยประกอบด้วย

  1. อาคารพืชทะเลทราย
  2. อาคารพืชเขตร้อนชื้น
  3. เรือนร่มไม้
  4. อาคารพืชไร้ดิน
  5. อาคารกล้วยไม้
  6. สวนสมุนไพร
  7. สวนบอนไซ
  8. เรือนไทยภาคเหนือ
  9. เรือนไทยภาคอีสาน
  10. เรือนไทยภาคใต้
  11. เรือนไทยภาคกลาง
  12. นิทรรศการไม้ประจำจังหวัด









สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติฯ 
สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติฯเป็นส่วนแสดงการจัดสวน เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยองค์กรระดับแนวหน้าของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งรัฐวิสาหกิจร่วมจัดแสดงสวนซึ่งแต่ละสวนมีรูปแบบการนำเสนอแนวพระราชดำริที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร และการพัฒนาในด้านต่างๆ  รวมทั้ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ทฤษฏีการจัดการน้ำ  ดิน ป่าไม้ เกษตรทฤษฏีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง และพืชพลังงาน มีองค์กรจากภาครัฐและเอกชนร่วมจัดสวน 19 องค์กร จำนวน 19 สวน ได้แก่
  1. สวนกรุงเทพมหานคร
  2. สวนบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
  3. สวนบริษัท โตโยต้า มอร์เตอร์ประเทศไทย จำกัด
  4. สวนบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  5. สวนบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  6. สวนบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  7. สวนจังหวัดราชบุรี
  8. สวนจังหวัดฉะเชิงเทรา
  9. สวนจังหวัดเชียงใหม่
  10. สวนเทศบาลนครเชียงใหม่
  11. สวนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  12. สวนองค์การสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
  13. สวนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  14. สวนธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  15. สวนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  16. สวนการท่าเรือแห่งประเทศไทย
  17. สวนการประปานครหลวง
  18. สวนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  19. สวนมูลนิธิโครงการหลวง








สำหรับท่านใดที่เดินไม่ไหว ทางอุทยานหลวงราชพฤกษ์เค้ามีบริการรถรางให้นั่งชมสวนได้ฟรีนะครับ
จะขึ้นจะลงตรงไหนก็แจ้งคนขับได้ครับ

เส้นทางสำหรับเดินรถราง
เราสามารถหยุดรอรถได้ตามเส้นทางนี้





สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ 
สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ฯ เป็นพื้นที่จัดแสดงของมิตรประเทศที่มาร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมจัดสวนทั้งหมด 22 ประเทศ จาก 3 ทวีป 23 สวน

ทวีปเอเชีย 13 ประเทศ 13 สวนโดยประเทศญี่ปุ่น ( 2 สวน) จัดในนามรัฐ 1 สวน และในนามจังหวัดเกียวโต โอซาก้า และเฮียวโกะ อีก 1 สวน ,ทวีปยุโรป 4  ประเทศ  4  สวน , ทวีปแอฟริกา  5 ประเทศ 5 สวน
  1. สวนประเทศบังคลาเทศ
  2. สวนประเทศภูฏาน
  3. สวนประเทศกัมพูชา
  4. สวนประเทศจีน
  5. สวนประเทศอินเดีย
  6. สวนประเทศอินโดนีเซีย
  7. สวนประเทศอิหร่าน
  8. สวนประเทศญี่ปุ่น
  9. สวนเกียวโต โอซาก้า เฮียวโกะ
  10. สวนประเทศลาว
  11. สวนประเทศมาเลเซีย
  12. สวนประเทศเนปาล
  13. สวนประเทศเวียดนาม
  14. สวนประเทศตุรกี
  15. สวนประเทศสเปน
  16. สวนประเทศเบลเยี่ยม
  17. สวนประเทศเนเธอร์แลนด์
  18. สวนประเทศมอริเตเนีย
  19. สวนประเทศเคนย่า
  20. สวนประเทศมอร็อกโค
  21. สวนประเทศแอฟริกาใต้
  22. สวนประเทศซูดาน  


หอคำหลวง จุดนี้ถือว่าพลาดไม่ได้เลยครับ เพราะว่าหอคำหลวงเป็นส่วนแสดงที่สำคัญและยิ่งที่สุด
หอคำหลวง เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุด เพื่อจัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักการเกษตรเอกของโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ทรง อัจฉริยภาพและ ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก ภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย” นั่นคือที่มาของอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา “หอคำหลวง” โดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ“หอคำหลวง”
หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาที่สง่างาม เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น สีน้ำตาลแดง ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าบนเนินดิน พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ท่ามกลางเนื้อที่กว่า 470 ไร่ ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สองข้างทางเดินสู่หอคำหลวงเต็มไปด้วยสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ ส่งให้หอคำหลวง เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุดอีกทั้งตระการตากับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ประดับตกแต่งในบริเวณเสาซุ้ม ซึ่งออกแบบได้สวยงามตามอย่างสถาปัตยกรรมล้านนาแท้ ๆจำนวนมากถึง 30 ซุ้ม


นอกจากนั้นภายในอุทยาหลวงราชพฤกษ์ยังมีสถานที่สำคัญแนะนำดังนี้
  1. โดมไม้เขตร้อนชื้น
  2. สวนสวัสดี
  3. อุทยานกล้วยไม้
  4. เรือนร่มไม้
  5. สวนบอนไซ









ประวัติเกี่ยวกับอุทยานหลวงราชพฤกษ์
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552



อุทยานหลวงราชพฤกษ์เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น.


แนะนำเพิ่มเติมหลังจากเที่ยวอุทยานหลวงราชพฤกษ์เสร็จแล้ว
คุณสามารถขับรถขึ้นไปกราบไหว้หลวงพ่อทันใจที่ วัดพระธาตุดอยคำ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ อายุกว่า 1,300 ปี หรือ แวะจิบกาแฟชิลล์ๆ ที่ร้านบ้านสวนกาแฟ เพราะว่าตั้งอยู่ไม่ห่างจากอุทยานหลวงราชพฤกษ์มากนัก


แผนที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์
พิกัด GPS 18.747852,98.924853




โปรโมชั่นโรงแรมที่พักในเชียงใหม่ by Agoda




เช่ารถในเชียงใหม่กับ Rentalcars.com



ชอบเรื่องนี้ช่วยกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับ

บทความที่ได้รับความนิยม