วัดชัยมงคล แต่เดิมเป็นวัดมอญมีชื่อว่า วัดมะเล่อ หรือ มะเลิ่ง
ซึ่งมีความหมายว่า รุ่งแจ้ง หรือ รุ่งอรุณ
ในภายหลังได้มีการเรียกชื่อกันใหม่ว่า วัดอุปาเพ็ง หรือ วัดอุปาพอก
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็นวัดชัยมงคล
วัดชัยมงคลตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง บนถนนเจริญประเทศ
ถูกสร้างขึ้นราวสมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่
ลักษณะของเจดีย์วัดชัยมงคล เป็นศิลปะพม่า-มอญ
พระอุโบสถ ถูกสร้างซ้อนพระวิหาร ทำให้พระอุโบสถและพระวิหารกลายเป็นหลังเดียวกัน
ในแต่ละมุมของพระเจดีย์จะมีรูปปั้น สิงหราชตั้งอยู่
พระพุทธชัยมงคล รูปปางมารวิชัยก่ออิฐหรือลงรักปิดทอง เป็นพระประธานภายในวิหาร ซึ่งจำลองแบบมาจากฝาผนังหลังด้านพระประธาน มีธรรมมาสน์ไม้สักแกะสลักรูปนาค 7 เศียร
สร้างในปี พ.ศ. 2476 มีพระพุทธรูปไม้สักปางเปิดโลกมีอายุประมาณ 500 ปีซึ่งได้มาจากวัดกิติ
วัดชัยมงคลได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ซ่อมแซมสิ่งชำรุดและเพิ่มเติมส่วนหนึ่งในวิหาร จึงทำให้วิหารยังคงรูปเหมือนเดิมแต่ได้เพิ่มเติมในส่วนของลวดลายอันวิจิตร ทั้งไม้แกะสลัก ปูนปั้นและภาพวาด ปัจจุบันทางวัดได้สร้างกุฏิและกำแพง
พระอุโบสถวัดชัยมงคล
แต่เดิมอุโบสถของวัดตั้งอยู่ในลำน้ำริมปิงติดกับกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ พอถึงฤดูน้ำหลากมีซุงไหลมาชนโบสถ์เสียทำให้สังฆกรรมไม่ได้
ในปี พ.ศ. 2478 ครูบา ดวงแก้ว จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และปลูกสีมาฝังลูกนิมิตเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2479 จึงทำให้อุโบสถ์ซ้อนวิหารเป็นหลังเดียวกันในปัจจุบันนี้
รูปปั้นรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง
ข้อมูลประวัติวัดชัยมงคล
วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ 133 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 61 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจรดที่ดินของสมาคมฝรั่งเศส (กงสุล) ทิศใต้จรดที่ดินของเอกชน ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำปิง ทิศตะวันตกจรดถนนเจริญประเทศ
วัดชัยมงคลเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง สร้างในสมัยไม่ปรากฏหลักฐานประมาณกันว่ามีอายุราว 600 ปี เดิมเนื้อที่ของวัดเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยยาวไปทิศเหนือ-ทิศใต้ ด้านทิศตะวันตกตั้งแต่เจดีย์ออกไปถึงถนนใหญ่เป็นบ้านพักกงสุลฝรั่งเศส ครูบาดวงแก้ว คันธิยะ อดีตเจ้าอาวาสเห็นว่าต่อไปคนจะมาทำบุญจะหาทางเข้าวัดลำบาก เพราะถนนเลียบฝั่งแม่น้ำปิงถูกกัดเซาะพังไปหมด ครูบาดวงแก้วจึงเจรจากับรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อขอแลกที่ดิน ด้านทิศเหนือแลกกับทิศตะวันตกเพื่อให้ที่ดินของวัดและกงสุลเป็นรูปสี่ เหลี่ยมด้านเท่ารัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ตกลงตามข้อเสนอ ครูบาดวงแก้วจึงได้ดำเนินการย้ายเจดีย์หลังเก่าซึ่งติดกับรั้วของกงสุล ฝรั่งเศส มาสร้างใหม่เป็นทรงมอญ (เม็ง)
วัดชัยมงคลเดิมเป็นวัดมอญ (เม็ง) เดิมชื่อวัดมะเล่อ หรือมะเลิ่ง (แปลว่า รุ่งแจ้ง,รุ่งอรุณ) ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระราชชายาดารารัศมีขอพระราชทานเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดชัยมงคล (ริมปิง) เพราะเหตุที่ว่าท่าน้ำเป็นท่าลงเรือเจ้านายฝ่ายเหนือจะล่องไปกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบางคนก็เรียกว่า อุปาเม็ง หรือ อุปานอก เพราะถือว่าเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดบุพพาราม (อุปมาใน) แต่เดิมอุโบสถของวัดตั้งอยู่ในลำน้ำริมปิงติดกับกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ พอถึงฤดูน้ำหลากมีซุงไหลมาชนโบสถ์เสียทำให้สังฆกรรมไม่ได้ ในปี พ.ศ. 2478 ครูบา ดวงแก้ว จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และปลูกสีมาฝังลูกนิมิตเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2479 จึงทำให้อุโบสถ์ซ้อนวิหารเป็นหลังเดียวกันในปัจจุบันนี้
ภายในวัดมีพระพุทธชัยมงคล รูปปางมารวิชัยก่ออิฐหรือลงรักปิดทอง เป็นพระประธานภายในวิหาร ซึ่งจำลองแบบมาจากฝาผนังหลังด้านพระประธาน มีธรรมมาสน์ไม้สักแกะสลักรูปนาค 7 เศียร สร้างในปี พ.ศ.2476 มีพระพุทธรูปไม้สักปางเปิดโลกมีอายุประมาณ 500 ปีซึ่งได้มาจากวัดกิติ
ขอบคุณข้อมูลจาก
:http://www.chiangmaicity.info/tourist-attractions-recommend/
ชาวบ้านนิยมมาปล่อยปลากันที่นี่
แผนที่วัดชัยมงคล เชียงใหม่
พิกัด GPS 18.780692,99.004217
เช่ารถในเชียงใหม่กับ Rentalcars.com