หน้าแรกเที่ยวเชียงใหม่ | แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่
ที่พักแนะนำในเชียงใหม่



โปรโมชั่นโรงแรมที่พักในเชียงใหม่


ชอบเรื่องนี้ช่วยกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับ

วัดโพธารามมหาวิหาร หรือ วัดเจ็ดยอด

วัดโพธารามมหาวิหาร หรือ มีชื่อเดิมว่า วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด
ชาวบ้านยังคงนิยมเรียกว่าวัดเจ็ดยอด เพราะเรียกกันจนติดปากแล้ว

วัดเจ็ดยอดเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง เชียงใหม่

ความน่าสนใจของวัดเจ็ดยอดคือ เป็นวัดที่มีเจดีย์ที่มีรูปทรงแปลกที่สุด
คือมียอดเจดีย์ถึงเจ็ดยอด ซึ่งปกติวัดทั่วไปจะมีเจดีย์ที่มียอดแหลมเพียงยอดเดียวเท่านั้น
ซึ่งลักษณะของเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับ มหาโพธิเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย
โดยปัจจุบันได้ถูกจัดให้เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย

วัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นวันประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะเส็ง
ดังนั้นในทุกปีช่วงปีใหม่ 
ผู้ที่เกิดปีมะเส็งจะเดินทางมากราบไหว้พระเจดีย์เจ็ดยอดเพื่อความเป็นสิริมงคล





สถานที่สำคัญต่างๆ ภายในวัด



ราวปี พ.ศ.1999 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรล้านนาไทย โปรดฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างทำการก่อสร้างอารามขึ้น แล้วโปรดฯ ให้ปลูกต้นมหาโพธิ์ในบริเวณพระอารามแห่งนั้น เพราะเหตุที่มีต้นมหาโพธิ์อยู่ในวัด จึงปรากฏชื่อว่า “วัดโพธารามมหาวิหาร” เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระโพธิรังสีมหาเถระ ผู้ตนนาคัมภีร์จามเทวีวงศ์ 




เจดีย์เจ็ดยอด เป็นโบราณสถานที่สำคัญที่สุดของวัด เชื่อว่าถ่ายแบบมาจากมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 เมื่อ พ.ศ.2020 พระเจ้าติโลกราชโปรดฯ ให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาจักรล้านนา และทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้จัดเจนในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดนี้ใช้เวลาปีหนึ่ง จึงสำเร็จ เป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่ลำดับที่ 8 โดยทำมาแล้วทั้งในอินเดียและศรีลังการวมเจ็ดครั้ง และเป็นครั้งแรกในประเทศไทย



ลายปูนปั้น บนผนังด้านนอกองค์เจดีย์เจ็ดยอดมีงานประติมากรรมปูนปั้น เป็นภาพเทพยดานั่งขัดสมาธิเพชร ประนมหัตถ์อยู่กลางพระอุระ กับภาพเทพดาพนมมือยืน ทรงเครื่องภษาภรณ์ อันเป็นสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยโบราณ สวมเครื่องศิราภรณ์ทรงเทริด มีทั้งแบบทรงสูงและทรงเตี้ย สังเกตบนยอดศิราภรณ์ประดิษฐ์ด้วยลายวิจิตรแตกต่างกันไปในแต่ละองค์ เช่น ลายกระจับ ลายดอกบัว ลายหน้ากาล ลายดอกไม้ ฯลฯ เป็นที่น่าชมยิ่ง บนพื้นผนังเป็นลายดอกไม้ร่วงคล้ายลายถ้วยชามสมัย ราชวงศ์เหม็งของจีน นอกจากนี้ยังมีลายประดับหัวเสาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา แม้พม่ายังรับเอาไปและเรียกกว่า “ลายเชียงใหม่”



ลายพระสถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ.2030 พระยอดเชียงราย ราชนัดดาได้สืบราชสมบัติแทน และโปรดฯ ให้สร้างจิตกาธาน(เชิงตะกอน) ขึ้นในวัดนี้เพื่อเป็นสถานที่ฌาปนสถานถวายพระเพลิงพระศพของพระอัยกาธิราช แล้วโปรดฯ ให้สร้างพระสถูปใหญ่บรรจุพระอัฐิและพระอังคารธาตุของพระเจ้าติโลกราชไว้ภายในบริเวณวัด

พระสถูปนี้ก่ออิฐถือปูน ทรงมณฑปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มคูหาเป็นจัตุรมุข หลังคาทรงบัวกุล่ม ส่วนเครื่องยอดต่อขึ้นไปก่อเป็นพระสถูปทรงระฆังกลม ซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกฝังเข้าไปในตัวมณฑป ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรปูนปั้นปางมารวิชัยหนึ่งองค์



ที่ตั้งและการเดินทาง ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายเชียงใหม่-ลำปาง ถ้ามาจาก ถ.ห้วยแก้วด้านหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้วิ่งตรงเข้าเมือง เมื่อถึงสี่แยกรินคำให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนซุปเปอร์ไฮเวย์(เชียงใหม่-ลำปาง) โดยวิ่งบนทางคู่ขนานประมาณ 1 กม. วัดเจ็ดยอดจะอยู่ซ้ายมือ


แผนที่วัดโพธารามมหาวิหาร หรือ วัดเจ็ดยอด
พิกัด GPS 18.808983,98.972009



โปรโมชั่นโรงแรมที่พักในเชียงใหม่ by Agoda




เช่ารถในเชียงใหม่กับ Rentalcars.com



ชอบเรื่องนี้ช่วยกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับ


บทความที่ได้รับความนิยม