วัดเชียงมั่น เชียงใหม่ เป็นพระอารามหลวงแห่งแรก
ที่พญามังรายทรงสร้างขึ้นภายในกำแพงเมืองเชียงใหม่
ประมาณ พ.ศ. 1839 - 1840
โดยพระราชทานที่ดินบริเวณพระตำหนักเวียงเชียงมั่นเป็นที่่สร้าง
ภายในวัดเก็บรักษาโบราณวัตถุที่สำคัญคือ
"พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว" สลักจากหินควอตซ์สีขาวขุ่น
(หินเขี้ยวหนุมาน) ศิลปล้านนา
พญามังรายทรงอันเชิญมาจากเมืองหริภุญไชย
พระพุทธรูปศิลาสลักปางทรมาณช้างนาฬาคีรี ฝีมือสกุลช่างปาละ (พุทธศตวรรษที่ 13-14)
และศิลาจารึกกล่าวถึงประวัติของวัดและเมืองเชียงใหม่
จารึกเมื่อ พ.ศ. 2124 โบราณสถานที่สำคัญคือ พระเจดีย์ช้างล้อม อายุเกือบ 700 ปี
ประวัติโดยย่อของพระแก้วขาว
พระแก้วขาว หรือ พระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วยฝีมือปฏิมากรรมชาวละโว้ หรือ ขอม (ลพบุรี) ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพนานล่วงแล้วได้ 700 ปี ในวันเพ็ญเดือน 7 พระสุเทวฤาษี ได้เอาดอกจำปา 5 ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงษ์สวรรค์ และได้สนทนากับพระอินทร์ พระอินทร์จึงบอกแก่สุเทวฤาษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญ ที่ลวะรัฏฐะจะสร้างพระพุทธปฏิมากรด้วยแก้วขาว ครั้นเมื่อสุเทวฤๅษีกลับจากดาวดึงส์เทวโลกแล้ว จึงไปสู่เมืองละโว้ ขณะนั้น พระยารามราช เจ้าเมืองละโว้ กับ พระกัสสปเถรเจ้า มีความประสงค์จะสร้างพระแก้ว ซึ่งพระอรหันต์ไปได้แก้วขาวบริสุทธิ์บุษยรัตน์มาจากจันทเทวบุตร แล้วขอพระวิษณุกรรมมาเนรมิตสำเร็จเป็นองค์พระพุทธปฏิมากร สุเทวฤๅษี ผู้สร้างนครหริภุญไชย และฤๅษีองค์อื่นๆ ก็ได้ไปประชุมช่วยเหลือในการสร้างองค์พระด้วย ครั้นสำเร็จแล้วก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 4 องค์ไว้ในพระโมลี (กระหม่อม) 1 องค์, พระนลาต (หน้าผาก) 1 องค์, พระอุระ (หน้าอก) 1 องค์ และพระโอษฐ์ (ปาก) 1 องค์ รวมทั้งหมด 4 แห่ง
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระแก้วขาวก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองละโว้สืบมาเป็นเวลานาน ครั้นเมื่อพระนางจามเทวีซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละดว้ ถูกเชิญมาครองเมืองหริภุญชัย พระนางจึงขออนุญาตจากพระราชบิดานิมนต์พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และ พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำองค์ พระแก้วขาวจึงได้ประดิษฐาน ณ นครลำพูนเป็นเวลาหลายร้อยปี ต่อมาพระเจ้าเม็งรายมหาราช ปฐมวงศ์กษัตริย์เม็งรายผู้สถาปนาอาณาจักรลานนาไทย ได้อัญเชิญพระแก้วขาว มาประดิษฐานในที่ประทับของพระองค์ในปี 1024 ทรงเคารพสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ตั้งแต่นั้นมา และกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัยและนครเชียงใหม่ในยุคต่อๆ มา ก็นับถือเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ทั้งสิ้น
บริเวณด้านหน้าโบสถ์ มีแม่ค้านำนกใส่กรงมาให้นักท่องเที่ยวปล่อย
จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยอยากสนับสนุนเลยนะครับ
จับนกที่เค้าอยู่อิสระของเค้าอยู่ดีๆ มาใส่กรง
แล้วก็ให้นักท่องเที่ยวมาเสียเงินเพื่อปล่อยเค้าไป
อันนี้ก็นานาจิตตังครับ
แผนที่วัดเชียงมั่น เชียงใหม่
พิกัด GPS 18.793837,98.98927
เช่ารถในเชียงใหม่กับ Rentalcars.com