หน้าแรกเที่ยวเชียงใหม่ | แหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่
ที่พักแนะนำในเชียงใหม่



โปรโมชั่นโรงแรมที่พักในเชียงใหม่


ชอบเรื่องนี้ช่วยกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับ

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ
คาดว่าได้มีการสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 1928 - 1945 
สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย 
โดยก่อนหน้านี้ได้มีการบูรณะมาหลายสมัย

วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่
ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่ 
ซึ่งแต่เดิมถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา 
ตั้งอยู่เลขที่ 103 ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 
มีเนื้อที่ภายในวัดประมาณ 32 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา




เมื่อเดินผ่านประตูด้านหน้าวัดเข้ามาจะพบกับต้นยางขนาดใหญ่


วัดเจดีย์หลวงมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกเช่น ราชกุฏาคาร และ วัดโชติการาม


















บริเวณด้านหลังพระวิหาร เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ ที่ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ 60 เมตร 
เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่




พระธาตุเจดีย์หลวงแห่งนี้ถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความสูงที่สุดในภาคเหนือ หรือ ถิ่นล้านนา
โดยมีความสูงประมาณ 80 เมตร


พระธาตุเจดีย์หลวงนั้นถูกสร้างขึ้นในในรัชสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1945) กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ซึงเป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา ซึ่งมีตำนานเล่ามาว่า พญากือนาซึ่งได้สวรรคตไปแล้ว ได้ปรากฏตัวแก่พ่อค้าชาวเชียงใหม่ที่เดินทางไปค้าขายที่พม่า ให้มาบอกว่าแก่พญาแสนเมืองมาผู้เป็นโอรสว่า ให้สร้างเจดีย์ไว้ท่ามกลางเวียง ให้สูงใหญ่พอให้คนที่อยู่ไกล 2000 วา สามารถมองเห็นได้ แล้วอุทิศบุญกุศลเหล่านนี้ให้แก่พญากือนา เพื่อให้พญากือนานั้นสามารถไปเกิดในเทวโลกได้ แต่พญาแสนเมืองมาเสด็จสวรรคตเสียก่อน พระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวีผู้เป็นมเหสีได้สืบทอด เจตนารมณ์สร้างต่อ จนเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน ใช้เวลาสร้าง 5 ปี

ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์ในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) พระองค์โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่ทำการปฏิสังขรณ์ โดยมีพระมหาสวามีสัทธัมกิติ เจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดโชติการาม (วัดเจย์หลวง) เป็นกำลังสำคัญในการควบคุมดูแล และประสานงาน การปฏิรูปและก่อสร้างครั้งนี้ได้สร้างขยายเจดีย์ให้ใหญ่กว่าเดิม ใช้เวลาในการก่อสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ

ในสมัยมหาเทวีจิรประภา รัชกาลที่ 15 แห่งราชวงศ์มังราย เกิดพายุฝนตกหนัก แผ่นดินไหว พระมหาเจดีย์หลวงได้พังทลายลงมาเหลือเพียงครึ่งองค์ จากนั้นก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า 4 ศตวรรษ พระมหาเจดีย์หลวงที่เห็นปัจจุบันกรมศิลปกรเพิ่งจะ บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จไปเมื่อ พ.ศ. 2535



โดยรอบพระเจดีย์จะมีรูปปั้นช้างตั้งอยู่ทั้งหมด 28 เชือก
ในตำนานได้กล่าวไว้ว่า ช้างทั้งหมดก่อนนี้มีเพียงแค่ 8 เชือกเท่านั้น
และได้มีการตั้งชื่อให้เฉพาะ ซึ่งชื่อช้าง 8 เชือกที่ล้อมเจดีย์หลวง นับจากนับตามลำดับตั้งแต่ตัวที่อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) เวียนมาตามทิศตะวันออก มีดังนี้

ตัวที่ 1 เมฆบังวัน
ตัวที่ 2 ข่มพลแสน
ตัวที่ 3 ดาบแสนด้าม
ตัวที่ 4 หอกแสนลำ
ตัวที่ 5 ก๋องแสนแหล้ง
ตัวที่ 6 หน้าไม้แสนเปียง
ตัวที่ 7 แสนเขื่อนก๊าน
ตัวที่ 8 ไฟแสนเต๋า

การสร้างรูปปั้นช้างนั้น เป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่า จะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้


  1. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกรานหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”
  2. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”
  3. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”
  4. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”
  5. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”
  6. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”
  7. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)
  8. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”



นอกจากนั้นจะมีรูปปั้นพญานาค 5 เศียร ตั้งอยู่ 2 ข้างบันได

















เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง  ตั้งอยู่กลางวิหารจตุรมุขศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนตัดกระจกสี รอบเสาวัดได้ 5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขิลสูง 97 เซนติเมตร รอบแท่นวัดได้ 2.4 เมตร บนเสาอินทขิลมีพะรพุทธรูปทองสำริดปางรำพึง ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบก พลตรี เจ้าราชบุตร (วงศ์ตะวัน ณ เชียงใหม่) นำมาถวายวัดเจดีย์หลวงเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการะคู่กัน

ตำนานเสาอินทขิล การสร้างเสาอินทขิลเริ่มจากชาวลัวะซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เชิงดอยสุเทพ ได้ก่อตั้งชุมชนระดับเวียงหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่นเวียงเชษฐบุรี เวียงสวนดอก เวียงนพบุรี เมื่อตั้งเวียงนพบุรีได้ตั้งเสาอินทขิลขึ้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง พร้อมกับมอบกุมภัณฑ์สองตนทำหน้าที่รักษาเวียงให้มั่นคง ตามคำแนะนำของฤาษี ชาวเมืองต้องทำพิธีบูชาเสาอินทขิลและเลี้ยงกุมภัณฑ์ หากปล่อยปละละเลยไม่บูชาบ้านเมืองจะวินาศ
ส่วนเสาอินทขิลที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงนั้น มีบันทึกไว้ว่าพญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ทรงสร้างเสาอินทขิล เมื่อครั้งสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1839 เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมืองหรือวัดอินทขิล กลางเวียงเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือหอประติโลกราช ข้างศาลากลางหลังเก่า) ครั้ง"พระเจ้ากาวิละ"ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะขึ้นใหม่เป็นเสาปูน พร้อมกับทำการบวงสรวงเป็นพระเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน


สรุปประวัติพระเจดีย์หลวง
พระเจดีย์หลวงสร้างขึ้นในรัชสมัยของพญาแสนเมืองมา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พญากือนา พระราชบิดา แต่สร้างไม่เสร็จ ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระนางเจ้าติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสีของพญาเมืองมา ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในรัชสมัยพญาสามฝั่งแกน เรียกกันว่า “กู่หลวง” พญาติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นนายช่างใหญ่ดำเนินการปฏิสังขรณ์รพระเจดีย์หลวง ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2021 ในรัชสมัยพระเจ้ายอดเชียงรายได้ปิดทองภายในซุ้มจรนัมของพระเจดีย์ หลวงทั้ง 4 ด้าน

ในรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2046 ได้โปรดให้สร้างหอพระแก้ว และอัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาประดิษฐาน สร้างมหาวิหาร ส่วนการบูรณะพระเจดีย์หลวงได้ดำเนินการเพียงเล็กน้อย

ในที่สุดเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในปีพ.ศ. 2088 ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิรประภา ยอดพระเจดีย์หลวงก็พังทลายลงมา เหลือให้เห็นดังสภาพปัจจุบัน (ก่อนการบูรณะของกรมศิลปกร)



แผนที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่
พิกัด GPS 18.786962,98.986553




โปรโมชั่นโรงแรมที่พักในเชียงใหม่ by Agoda




เช่ารถในเชียงใหม่กับ Rentalcars.com







ชอบเรื่องนี้ช่วยกด Like กด Share ให้ด้วยนะครับ

บทความที่ได้รับความนิยม