วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,053 เมตร
ได้รับการก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา
ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 1,053 เมตร
ได้รับการก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา
ซึ่งเป็นวัดสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพ ได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานสำคัญสำหรับชาติ
ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52
ใครมาเที่ยวเชียงใหม่ก็ต้องแวะมากราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพกันทุกคน
เมื่อจอดรถเสร็จแล้ว จะมีทางขึ้นไปด้านบนสองทาง
คือ 1. เดินขึ้นบันได ซึ่งเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน
2. ขึ้นรถรางไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายคนละ 20 บาท
ก่อนทางขึ้นด้านหน้ามีรูปปั้นครูบาศรีวิชัย
เนื่องด้วยครูบาศรีวิชัย เป็นผู้สร้างถนนทางขึ้นสู่พระบรมธาตุดอยสุเทพ
ทำให้พวกเราได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางขึ้นมากราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพกันตราบทุกวันนี้
ครูบาศรีวิชัย หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ ได้รับการขนานนามว่า
ตนบุญแห่งล้านนา ซึ่งมีความหมายว่า นักบุญแห่งล้านนา
บันไดนาคเจ็ดเศียร
เดินขึ้นบันไดขึ้นไป 185 ขั้น (ข้อมูลเดิมแจ้งว่ามี 306 ขั้น)
ถือว่าสบายๆ ครับ เดินๆ พักๆ เดี๋ยวก็ถึง
แถมได้ออกกำลังกายไปด้วยในตัว
บันไดนาคถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2100 โดยมีพระมหามงคลโพธิ์ เป็นประธานก่อสร้าง
ซึ่งด้านข้างราวบันไดทั้ง 2 ข้าง จะมีพญานาค ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
เป็นปูนปั้นประดับด้วยกระจกสี ตกแต่งได้อย่างปราณีต
นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพคู่กับหัวพญานาคนี้ก่อนเดินขึ้นบันได
ส่วนหนึ่งอาจเป็นช่วงทำใจ ก่อนเดินขึ้น
พญานาคแต่ละตัวจะมี 7 เศียร ซึ่งบันไดนี้ถูกสร้างมานานกว่า 400 ปีแล้ว
ในระหว่างนั้นก็มีเสียหาย ชำรุดไปบ้าง แต่ก็ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมอยู่เป็นประจำ
ทำให้ปัจจุบันบันไดยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์และใช้งานได้เป็นอย่างดี
หรือถ้าใครมีโรคประจำตัวก็ใช้บริการรถรางไฟฟ้า ก็ได้ครับ
เสียค่าใช้จ่ายคนละ 20 บาท
รางรถรางไฟฟ้า
เนื่องจากที่วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่วัดแห่งนี้จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ เดินทางมากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก
วัดพระธาตุดอยสุเทพ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา
ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย
พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัติสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร
เจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น
หลวงพ่อทันใจ
หากใครขึ้นมาเที่ยวบนวัดพระธาตุดอยสุเทพในช่วงเย็น
ขากลับอย่าลืมจอดรถแวะชมวิวแสงไฟสวยๆ ของตัวเมืองเชียงใหม่
ตรงบริเวณจุดจอดรถชมวิว ที่มีพื้นที่จัดไว้ให้จอดรถได้อย่างปลอดภัยไม่เกะกะ
บรรยากาศวัดพระธาตุดอยสุเทพ ยามค่ำคืน มองจากตัวเมืองเชียงใหม่
บรรยากาศวัดพระธาตุดอยสุเทพ ยามเช้ามองจากตัวเมืองเชียงใหม่ แสงไฟจะเปิดถึงแค่ ตี 5.50 น. เท่านั้น หากใครอยากตื่นมาดูเจดีย์พระธาตุตอนเปิดไฟสวยๆ แบบนี้ ไม่ควรตื่นเกินตี 5.50 น. นะครับ
แผนที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
พิกัด GPS 18.804896,98.921696
เช่ารถในเชียงใหม่กับ Rentalcars.com